Animated Rainbow Nyan Cat

Translate

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ครั้งที่ 13 วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2562

วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง มาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา

สาระที่ 2 การวัด
   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด



สาระที่ 3 เรขาคณิต
   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial 
reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) 
ในการแก้ปัญหา

สาระที่ 4 พีชคณิต
   เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ 
อย่างสมเหตุสมผลใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา



สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
   มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อ 
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ 
 
และอาจารย์ได้สอนการเปรียบเทียบจำนวน เครื่องหมายมากกว่า-น้อยกว่า และการจับคู่ โดยมีเกณให้เด็กได้มีโอกาสในการจับคู่
และอาจารย์ได้สอนเรื่องการทำผังการแยก จำแนก โดยยกตัวอย่างเรื่องของไข่ จะมีหัวข้อย่อยลงมาเช่น ชื่อของไข่ = ไข่นกกระทา ไข่ไก่ ไข่เป็ด  ลักษณะของไข่ ( สี,= สีขาว สีขาวลายจุดดำ สีเนื้อ สำชมพู พื้นผิว=เรียบ ขุรขระ) ประโยชน์ = ทำอาหาร เพาะขาย เป็นต้น  








แผ่นพับ



  
 
 


ครั้งที่ 12 วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2562

วันนี้เป็นการเรียนชดเชยของกลุ่ม 101 อาจารย์ได้ให้ลิงค์  http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf  กับพวกเราให้พวกเรานั้นได้อ่านทำความเข้าใจและทำ Mind map หัวข้อ คู่มือการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้ข้อมูลในการเรียนแก่นักศึกษามาก่อนถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาก่อนเข้า
ประเมินเพื่อน : เพื่อนได้อ่านข้อมูลที่อาจารย์ให้มาและทำ Mind map ตามที่อาจารย์มอบงานให้อย่างดี
ประเมินตัวเอง : ทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมายให้

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย

สรุปวิจัย " การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเล่านิทาน "




นิทานสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไม่ได้ว่าจะเป็นทักษะการนับและรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านสติปัญญาพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัยให้สามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนต้องรู้จักนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและส่งเสริมความพร้อมในการคิดคำนวณ เมือเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการเด็ก
ซึ่งเด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อนั้น มีความสามารถด้านการนับหลังจากทดลองสูงกว่าก่อนทดลองจะเห็นได้ว่าเด็กที่ได้รับการสอนโดยใช่นิทานนั้นมีการเรียนรู่พัฒนาการด้านทักษะทางพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นตลอดการทดลองในครั้งนี้

สรุปบทความ

สรุปบทความ " คณิตศาสตร์ปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว "


หลายคนๆอาจจะคิดว่าคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่ที่จริงแล้วนั้นไม่ยากเลยถ้าเด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำนั้นจะทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเราจะสอนเด็กเรื่องของ 'การจำแนก' นั้นเราสามารถยกสิ่งของใกล้ตัวเรามาสอนเด็กได้เช่นบล็อกไม้ที่มีรูปร่างรูปทรง สี ที่แตกต่างกัน เริ่มจากการให้เด็กได้สังเกตว่าบล็อกไม้นั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เช่น เด็กแยกตามสี เอาบล็อกสีแดงอยู่กับสีแดง บล็อกสีเหลืองอยู่กับสีเหลืองเป็นต้น

หรือจะเป็นเรื่อง 'การเปรียบเทียบ' เช่นเรามีลูกปัดอยู่จำนวน 2 ชุดให้ดูว่าชุดที่1(สีฟ้า) กับชุดที่2(สีเหลือง) ชุดไหนมีจำนวนมากกว่ากันเด็กก็จะได้เรื่องของนับ
  

ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสอนเด็กให้ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำนั้นจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ไปในตัวและเป็นการสอนเด็กอีกด้วย ถ้าเรามัวแต่สอนเด็กแต่ในหนังสือนอกจากจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ยากแล้วยังทำให้เด็กเบื่อและไม่สนใจในคณิตศาสตร์อีกด้วย